Tuesday, April 20, 2010

Tagged Under:

พ่อน้องไอนส์ เผยรู้สึกลูกสาวแค่จำศีล ผู้เชี่ยวชาญชี้เสียมากกว่าได้

By: Unknown On: 4:24 AM
  • Share The Gag
  • พ่อน้องไอนส์ เด็กหญิง 2 ขวบ ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง และนำร่างไปแช่แข็ง เผยรูู้สึกลูกสาวแค่จำศีล ด้านผู้เชียวชาญชี้เสียมากกว่าได้

    จากกรณีที่ ด.ญ.เมทรินทร์ เนาวรัตน์พงษ์ หรือน้องไอนส์ อายุ 2 ขวบ ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในสมอง และได้ถูกพ่อแม่นำร่างไปแช่แข็งด้วยเทคโนโลยี ไครออนิกส์ ที่มูลนิธิอัลคอร์ไลฟ์ เอ็กซ์เทนซีฟ สหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นกรณีศึกษาและหวังให้เทคโนโลยีในอนาคตช่วยชุบชีวิตลูกขึ้นมาอีกครั้ง

    ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 58 ดร. สหธรณ์ เนาวรัตน์พงษ์ พ่อของน้องไอนส์ ได้ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า ทางมูลนิธิที่ให้บริการแช่แข็งศพนั้น ดำเนินงานในสองส่วน คือ งานวิจัย และการบริหารการเงิน ซึ่งหลังจากที่ได้บริจาคเงินไปแล้วทางมูลนิธิจะนำเงินไปใช้ส่วนหนึ่งเพื่อการวิจัย อีกส่วนหนึ่งเข้ากองทุนที่เอาไปบริหารจัดการให้เงินงอกเงยขึ้นมา เพื่อดูแลรักษาระบบทำความเย็น โดยบริจาคเพียงครั้งเดียว ไม่เป็นภาระของคนรุ่นถัดไป

    ทั้งนี้ ดร. สหธรณ์ บอกว่า ไม่อยากให้นำเรื่องตัวเงินมาเป็นประเด็น ทางมูลนิธิจะบริหารให้ตลอดไป ไม่ต้องเป็นภาระของคนรุ่นต่อไป โดยตนอาจจะเดินทางไปเยี่ยมลูกสาวบ่อย ๆ เพราะในส่วนลึกตนรู้สึกว่าเขายังมีชีวิตอยู่ เป็นเหมือนการจำศีล เหมือนยังมีลูกสาวอยู่ในต่างประเทศ ไปเพื่อเป็นการระลึกถึง ในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีมันไปถึงก็รอให้เขากลับมา แต่ในความเป็นจริงตนก็ต้องยอมรับว่าเราจากกันแล้ว

    สำหรับประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการเก็บศพเหมือนเป็นการกักขังวิญญาณนั้น ดร.สหธรณ์ กล่าวว่า เรื่องนี้มีแง่คิดสมัยใหม่ออกมาเยอะมาก ซึ่งตนคิดว่าเป็นสีสันและพึงพอใจกับความคิดเห็นที่แตกต่างเหล่านั้น ถ้าคิดว่ามีวิญญาณเป็นดวง ๆ คงจะเป็นรูปธรรมมากเกินไป ในความรู้สึกตน น่าจะเป็นนามธรรมมากกว่า เราไม่มีทางไปขังดวงวิญญาณได้เช่นเดียวกับที่แม้มีเพลงอยู่ในแผ่นซีดีเราก็ไม่อาจขังบทเพลงได้





    ด้าน ศ.ดร. สมภาร พรมทา ศาสตราจารย์ด้านปรัชญาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งศึกษากระบวนการไครออนิกส์ (Cryonics) มานาน ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้ว่า ไครออนิกส์คือ กระบวนการเก็บศพไว้ในความเย็นเพื่อปลุกให้ตื่นในอนาคต ศพที่แช่ไว้ตายด้วยโรคที่ปัจจุบันรักษาไม่ได้ เชื่อกันว่าในอนาคตโรคเหล่านี้อาจรักษาได้ ตอนนั้นเราก็ปลุกศพเหล่านี้ขึ้นมารักษา แต่ประเด็นที่ตนมุ่งเน้นจริง ๆ คือ ประเด็นทางจริยศาสตร์ ซึ่งจุดประสงค์ของการศึกษาเรื่องนี้ส่วนใหญ่ก็เพื่อตอบคำถามว่า แม้ไครออนิกส์จะเป็นสิ่งที่ทำได้แต่มันสมควรทำหรือไม่ โดยรวมตนคิดว่าวิธีนี้เสียมากกว่าได้

    ขณะที่ ศ.นพ. สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวถึงกรณีนี้ว่า ในอนาคตยังยาก และไม่รู้จะทำไปทำไม สมมติถ้าคนเราทำให้ไม่ตายได้ สุดท้ายคนเราก็จะฆ่ากันตายเอง เพราะไม่พอกิน แย่งกัน ที่แล้วมาเขาถึงไม่ให้ทำโคลนนิ่ง เพราะมีปัญหาเยอะ เราก็ดูจากเชื้อโรค พอมันเจริญได้ยังไม่ทันหยุดลงท้ายมันก็ตายหมด เพราะของเสียมันสะสม ของกินไม่พอ ลงท้ายมันก็จะฆ่ากันเอง

    0 comments:

    Post a Comment