ถังแก๊สหุงต้ม เป็นอุปกรณ์สำหรับบรรจุเชื้อเพลิงชนิดแก๊สไว้ภายใน ตัวถังจะมีลักษณะหนาเพราะ แก๊สเป็นเชื้อเพลิงที่มีความดันไอสูง ภาชนะที่ใช้บรรจุจึงจำเป็นต้องทนกันความดันได้
ส่วนประกอบถังแก๊ศ
1. โกร่งกำบังลิ้น และ หูหิ้ว
ทำหน้าที่สำคัญคือป้องกันไม่ให้ ลิ้น / วาล์ว ถัง ถูกกระทบกระแทกและใช้สำหรับหิ้ว
2.ลิ้น / วาล์ว
ลิ้น / วาล์ว ทำหน้าที่ เปิด-ปิด แก๊ส ลิ้น /วาล์ว ของถังบางชนิดออกแบบมาให้ปิดแก๊สโดยอัตโนมัติเมื่อมีการนำหัวปรับออก เช่น ถังเอสโซ่ ถังเวิร์ดหัวกด
3.ฐานถัง
มีไว้สำหรับป้องกันไม่ให้ก้นถังกระแทกกะพื้น และเพื่อให้ตั้งถังบนพื้นได้อย่างมั่นคง ฐานถังจึงต้องเรียบเสมอและแข็งแรง
4.ตัวถัง
ทำด้วยเหล็กเหนียวพิเศษ ที่ทนต่อความดันสูงอย่างน้อย 480 ปอนด์/ตารางนิ้ว
ทนต่อแรงอัดได้ถึง 1300 ปอนด์/ตารางนิ้ว ส่วนใหญ่จะระเบิดที่ 1600 ปอนด์/ตารางนิ้ว
แต่ในการบรรจุแก๊สในถังจริงๆ แล้วจะใช้ความดันเพียง 50 ปอนด์/ตารางนิ้ว เท่านั้น ถังแก๊ส
ที่นิยมใช้กัน มีขนาด 4 ก.ก. 7 ก.ก 15 ก.ก และ 48 ก.ก
5.เครื่องปรับความดันแก๊ส หรือ หัวปรับแก๊ส
แม้ว่าความดันในถังแก๊สจะสูงถึง 50 ปอนด์/ตารางนิ้ว แต่สำหรับในครัวเรือนจะใช้ความดันแก๊ส ที่ตรงหัวเตาแก๊สเพียง 0.4 ปอนด์น/ตารางนิ้ว จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องปรับความดันแก๊ส เพื่อให้ลดแรงดัน แก๊สที่ออกมาจากถังให้น้อยลง ซึ่งหัวปรับแก๊สที่ใช้ในครัวเรือนมี อยู่สองประเภท คือ หัวปรับแก๊สแรงดันต่ำ และ หัวปรับแก๊สแรงดันสูง
6.สายนำแก๊ส
เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระหว่างเครื่องปรับความดันแก๊สที่หัวถังกับเตาแก๊สสายนำแก๊สไม่ควรใช้สายยางธรรมชาติ หรือสายพลาสติกธรรมดาเป็นอันขาด แต่ควรใช้สายพีวีซีที่ใช้สำหรับแก๊สแอลพีจี เท่านั้น และไม่ควรยาวเกิน 2 เมตร
จากที่กล่าวมาคร่าวๆ ส่วนประกอบแต่ละชิ้นในถังแก๊ส มีความสำคัญมากต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
ดังนั้นการเลือกถังแก๊สแต่ละครั้ง ควรพิจารณาและตรวจสอบให้ดีทุกครังก่อนนำมาใช้งาน
0 comments:
Post a Comment