Thursday, May 6, 2010

Tagged Under:

มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแก๊สหุงต้ม หรือ LPG

By: Unknown On: 7:00 AM
  • Share The Gag
  • บทความของ อาจารย์ ร.อ.ชยุต ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับแก๊ส LPG ท่านกล่าวไว้ว่า
                     LPG (Liquefied Petroleum Gas)
             
     เรียกอีกอย่างว่า แก๊สหุงต้มหรือเป็นชื่ออื่น ๆ ตามสภาพการใช้งานและชื่อที่คุ้นเคยเช่นแก๊สหุงต้ม แก๊สรถยนต์ แก๊สเหลว แก๊สปิโตรเลียมเหลว แก๊สโพรเพน หรือแก๊สบิวเทน ในบางประเทศจะเรียกว่า Town Gas ชาวบ้านประชาชนทั่วไปก็จะเรียกแก๊ส แก๊สหุงต้ม แก๊สรถยนต์    ส่วนราชการ ซึ่งจะพบในตัวบทกฎหมายหรือในเอกสารที่เป็นทางการก็จะเรียกแก๊สเหลวหรือแก๊สปิโตรเลียมเหลวที่แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า liquefied Petroleum Gas มีคำย่อว่า LPG
                 
    LPG เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด การเผาไหม้ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ สะดวกต่อการใช้ อุปกรณ์แก๊สมีราคาไม่แพงและหาซื้อง่าย เป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งของปิโตรเลียม
    แก๊สหุงต้มที่ใช้อยู่ในเมืองไทยมีส่วนประกอบหลักเป็นแก๊สโพรเพน (C3 H8) 1 ส่วน และแก๊สบิวเทน (C4 H10) 1.5 ส่วนโดยประมาณ

        

                       ในสภาพอากาศธรรมดาหรือบรรยากาศ (atmospheric pressure and temperature ) แก๊สหุงต้มอยู่ในสภาพเป็นแก๊สแต่ถ้าบรรจุอยู่ในถังจะอยู่ในสภาพเป็นของเหลวที่เรียกว่า LPG เพราะผู้ผลิตจะอัดแก๊สหุงต้มไว้ในถังด้วยความดันสูงกว่าบรรยากาศจนทำให้แก๊สอยู่ในสภาพเป็นของเหลว แต่เมื่อเปิดวาล์วอยู่บรรยากาศมันจะระเหยกลายไปเป็นไอหรือเป็นแก๊สหุงต้มได้ทันที เป็นเพราะจุดเดือดของโพรเพนอยู่ที่ -42  องศา C และบิวเทนอยู่ที่ 12 องศา C นั่นเอง
            การผลิต LPG
    LPG ในประเทศผลิตมาจาก 2 แหล่งคือ
    1.โรงกลั่นน้ำมัน
    2.โรงแยกแก๊สของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

    LPG ที่ผลิตจากโรงกลั่นน้ำมันดิบ โดยในกระบวนการผลิตของโรงกลั่นเขาจะไม่ทำให้เย็นลงต่ำกว่าจุดหลอมเหลว แต่จะทำให้แก๊สโพรเพนและบิวเทนให้ได้ความดันประมาณ 16-17 เท่าของบรรยากาศก็จะกลายเป็นของเหลวที่อุณหภูมิปกติ
    LPG ที่ผลิตจากโรงแยกแก๊สมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ LPG ที่ผลิตจากโรงกลั่น แต่ความดันไอจะสูงน้อยกว่าแก๊สที่ได้จากการกลั่น แก๊สหุงต้มส่วนใหญ่ที่ใช้กันในครัวเรือนนั้นผลิตได้จากโรงแยกแก๊ศไทยเรา

    อันตรายที่เกิดขึ้นจากก๊าซเชื้อเพลิง

    สามารถแบ่งอันตรายจากก๊าซเชื้อเพลิงออกได้เป็น 4 อย่างคือ

    1. อันตรายที่เกิดจากอุณหภูมิเย็นจัด ที่ความดันบรรยากาศ ก๊าซเชื้อเพลิงอยู่ในสภาวะเป็นของเหลว จะมีอุณหภูมิต่ำกว่า -45 ํซ. ซึ่งที่อุณหภูมินี้ เหล็กที่ใช้ก่อสร้างทั่วๆไป (Carbon Steel) จะเปราะและแตกหักได้ ดังนั้นถังที่ใช้เก็บก๊าซเชื้อเพลิงในสภาวะเป็นของเหลวจะต้องทำด้วยเหล็กผสม (Alloy steels) หรือคอนกรีต อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ต้องทำด้วยเหล็กที่ทนต่ออุณหภูมิต่ำๆได้
    2. อันตรายจากกลุ่มก๊าซที่ล่องลอยไป เมื่อก๊าซรั่วออกมาจากภาชนะที่เก็บแล้วกลายเป็นก๊าซลอยไป จะเป็นพิษและติดไฟได้ ก๊าซเชื้อเพลิงส่วนมากจะทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน เมื่อมีก๊าซปริมาณมากๆ เข้าไปแทนที่อากาศ
    ถ้ากลุ่มก๊าซนั้นมีปริมาณอัตราส่วนที่ติดไฟระเบิดได้ลอยไปหาสิ่งที่มีความร้อนเพียงพอ จะทำให้เกิดไฟลุกไหม้ กลับไปยังจุดที่มีก๊าซรั่วออกมา และในบางสภาวะจะทำให้เกิดการระเบิดรุนแรงได้ คนและวัสดุ สิ่งของที่อยู่ใกล้กับบริเวณที่กลุ่มก๊าซนั้นติดไฟจะได้รับอันตราย สำหรับการเกิดระเบิดของกลุ่มก๊าซในอากาศนั้นมีอันตรายมาก แต่สภาวะที่จะทำให้เกิดได้นั้นต้องไม่มีคำตอบที่แน่นอน
    3. อันตรายจากไฟไหม้ ก๊าซที่อยู่ในสภาวะของของเหลว และลักษณะของไอจะติดไฟเมื่อถูกกับความร้อนที่เพียงพอ ไฟที่เกิดขึ้นจะทำลายสิ่งของที่สัมผัสกับเปลวไฟและรังสีความร้อนจะทำลายสิ่งของที่อยู่ใกล้บริเวณที่เกิดไฟ
    4. อันตรายจากกำลังดันเกิน ทำให้ระเบิดได้ เมื่อก๊าซเหลวได้รับความร้อนส่วนหนึ่ง กลายเป็นไอที่ระเหยจะทำให้กำลังดันของก๊าซที่อยู่ในภาชนะที่มีปริมาตรคงที่นั้นเพิ่มขึ้น ส่วนในถัง ท่อ หรือเครื่องสูบ ฯลฯ ถ้าความร้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ไอไม่มีการระบายออกเพียงพอ ภาชนะนั้นๆ จะแตกออกอย่างรุนแรง ปรากฏการณ์อย่างนี้ บางครั้งเรียกว่า เบลวี (BLEVE) ซึ่งย่อมาจากคำว่า Bolling Liquid Expanding Vapour Explosion ปรากฏการณ์นี้ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และได้ทำความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน เป็นจำนวนมาก

    การปฏิบัติเมื่อเกิดแก๊สรั่ว

    เนื่องจากคุณสมบัติของแก๊สดังที่กล่าวมาข้างต้นสามารถทำให้เกิดอันตรายได้ ฉะนั้นเมื่อเกิดแก๊สรั่วควรปฏิบัติดังนี้
    1. ห้ามจุดไม้ขีด หรือเปิด-ปิดสวิตซ์ไฟฟ้าทุกชนิด เพราะจะทำให้เกิดประกายไฟและระเบิดได้
    2. เปิดประตูหน้าต่าง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกยิ่งขึ้น
    3. ตรวจดูที่วาล์วถัวแก๊สว่าปิดสนิทดีหรือไม่
    4. หากหาสาเหตุไม่พบให้ใช้ฟองสบู่ลูบไล้ตามจุดที่สงสัย เช่นวาล์วถังแก๊ส สายส่งแก๊ส หรือบริเวณถัง
    5. ถ้ามีไฟลุกขึ้นที่ถัง ให้ใช้เครื่องดับเพลิงเคมีชนิดผงแห้ง
    6. แจ้งหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

    ทำอย่างไร เมื่อเกิดการลุกไหม้ของ LPG

    รีบหยิบอุปกรณ์ดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งฉีดไปที่เปลวไฟหรือใช้น้ำฉีด โดยเข้าทำการดับเพลิงเหนือลม ถ้าเห็นว่า
    1.ไฟอาจลุกลามออกไป
    2.สามารถหยุดการรั่วของแก๊สได้
    3.ไฟเผาถังแก๊สในส่วนที่ไม่มีแก๊สเหลว
    ห้ามฉีดผงเคมีแห้งไปที่วาล์วนิรภัย เนื่องจากแก๊สจะถูกปล่อยออกมาเรื่อย ๆ จนกว่าความดันในถังจะต่ำกว่าความดันที่ตั้งไว้ที่วาล์วนิรภัย
    ใช้น้ำหล่อเลี้ยงถังตลอดเวลาขณะที่เกิดไฟไหม้ที่ถังแก๊ส และฉีดน้ำหล่อเลี้ยงบริเวณใกล้เคียงด้วย
    ในกรณีที่เป็นถังเก็บขนาดใหญ่อาจใช้วิธีการลดปริมาณเชื้อเพลิง โดย
    1.ใช้น้ำฉีดที่ตัวถังเพื่อลดความดัน
    2.ปล่อยแก๊สออกจากถัง โดยต่อที่ออกไปปล่อยในที่ที่ปลอดภัย

    ป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามโดย

    1.เคลื่อนย้ายวัตถุติดไฟและเชื้อเพลิงออกไปให้ไกลห่างจากบริเวณไฟไหม้
    2.ฉีดน้ำเลี้ยงอาคารใกล้เคียงกับบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้

    การปฐมพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน
    LPG กระเด็นเข้าตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้งและให้ดึงหนังตาล่างและหนังตาบนอยู่เสมอ ห้ามใช้น้ำร้อนล้างตาเป็นเด็ดขาด แล้วรีบส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลในทันที
    LPG ถูกผิวหนัง ให้ล้างด้วยน้ำทันทีหรือถ้าเสื้อผ้าที่กำลังสวมใส่อยู่เปียกชุ่มด้วย LPG ต้องถอดเสื้อผ้าออกทันทีแล้วอาบน้ำชำระล้างผิวหนัง ถ้าหลังอาบน้ำแล้วยังคงรู้สึกระคายเคืองผิวหนังอยู่ให้รีบแพทย์เพื่อรักษาต่อไป
    ถ้าหายใจเอา LPG เข้าไปมากต้องรีบเคลื่อนตัวผู้ป่วยไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยไปยังบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ต้องรีบผายปอดให้หรือใช้เครื่องช่วยหายใจก่อนส่งไปโรงพยาบาลต่อไป

    ใช้อย่างไร ไม่ให้เกิดอันตราย

    หากเข้าใจธรรมชาติของ LPG และก๊าซต้ม (LPG อยู่ในสภาวะแก๊ส)แล้วจะทำให้เราใช้ได้อย่างปลอดภัยขึ้นเช่นให้ต้องระมัดระวังการเก็บ การเคลื่อนที่
    ของอธิบายหลักการง่าย ๆ ของการใช้แก๊สหุงต้มในครัวเรือน สำหรับให้นำไปปฏิบัติดังนี้
    1.เลือกใช้แก๊สที่บรรจุในถังที่ได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล่านั้น
    2.เตาแก๊สควรมีคุณภาพดีมีวาล์วปิด-เปิดเข้ากันได้ดีกับหัวปรับความดัน
    หัวปรับความดันเป็นอุปกรณ์ช่วยลดแรงดันของแก๊สที่ส่งจากถังมายังเตาแก๊สอาจต่อกับถังหรือท่อแก๊ส
    3.หัวปรับความดันต้องแข็งแรงไม่บอบางหรือต้องไม่แตกง่าย
    4.ท่อหรือสายส่งแก๊ส ควรใช้โลหะหรือสายที่ทำจากพลาสติก พี. วี. ซี. ที่มีความหนา ไม่หักงอง่าย ไม่ถูกละลายโดยเนื้อแก๊ส ทนแรงดัน และทนการขูดขีดเหล็กที่ใช้รัดสายเข้ากับตัวถังควรเป็นชนิดไร้สนิม ท่อหรือสายต้องต่อได้อย่างแนบสนิทกับลิ้นเปิด-ปิด
    อย่าได้ใช้ท่อส่งแก๊สที่ทำจากยางหรือสายพลาสติกธรรมธรรมดา เพราะวัสดุพวกนี้จะถูกละลายด้วยแก๊สหุงต้มแล้วทำให้แก๊สรั่วไหลออกมาจากถังได้
    5.สายส่งแก๊สที่ใช้ตามปกติ ควรเปลี่ยนใหม่ทุก 3 ปี
    6.วางถังในแนวตั้ง อย่าวางถังในแนวนอนหรือวางแบบให้ถังเอียง
    7.สถานที่ที่ตั้งถังแก๊สซึ่งต่อเข้ากับเตาแก๊ส ต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
    8.ถังแก๊สควรตั้งห่างจากเตาแก๊สประมาณ 1-1.5 เมตร
    9.เตาแก๊ส ควรตั้งอยู่ในระดับสูงกว่าถังแก๊สหรืออย่างน้อยในระดับที่เท่ากันเนื่องจากเป็นการป้องกันไม่ให้ความร้อนจากเตาทำลายสายส่งแก๊ส
    10.ขณะเปลี่ยนถังแก๊สใหม่เรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจสภาพสิ้นเปิด-ปิดว่าต่อเข้ากับหัวถังแน่นสนิทดีแล้ว
    11.ถ้าเตาเป็นแบบที่ต้องจุดไม้ขีดไฟรอไว้ที่หัวเตา อย่าปิดแก๊สทิ้งช่วงนานเกินไป เพราะแก๊สจะออกมามาก และเมื่อจุดไฟที่หัวเตาจะเกิดเปลวไฟมากเกินไปจนอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
    12.ถ้าเป็นเตาแบบอัตโนมัติอย่าเปิดซ้ำกันหลายๆ ครั้งเพราะแก๊สจะมาสะสมกันที่หัวเตามาก เกิดโชคร้ายไฟติด เอาตอนในขณะที่มีแก๊สรวมกันอยู่มากอาจเกิดอันตรายได้
    13.ขณะใช้แก๊ส อย่าเปิดให้เปลวไฟลุกท่วมหม้อหรือกะทะที่กำลังตั้งอยู่บนเตาเพราะสิ้นเปลืองแก๊สไปเปล่า ๆ
    14.ปิดวาล์วที่หัวเตา วาล์ว ถังแก๊สให้สนิททุกครั้งหลังจากที่ใช้งานเสร็จแล้ว
    15.หากเปลวไฟที่หัวเตาดับไปแต่ได้กลิ่นแก๊ส อย่าจุดไฟใหม่ทันทีสิ่งแรกที่ต้องทำคือ ต้องรีบปิดวาล์วที่หัวเตาและที่วาล์วของถังแก๊สให้สนิทในทันที แล้วเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศให้หมดกลิ่นแก๊สก่อนจึงจะปลอดภัย และห้ามเปิดพัดลมไล่กลิ่นแก๊สเป็นเด็ดขาดเพราะจะเกิดประกายไฟจากการเปิดสวิตซ์
    16.หาสาเหตุของกลิ่นที่รั่วจากข้อ 15 อย่างรีบเด่นแล้วรีบจัดการกับสาเหตุที่พบโดยทันที
    17.ถ้าเกิดไฟลุกไหม้จงตั้งสติแล้วรีบคว้าเครื่องดับเพลิงฉีดสารเคมีดับไฟหรือใช้น้ำฉีดถังตลอดเวลาจนกว่าแก๊สจะถูกเผาไหม้จนหมด
    18.ควรตรวจรอยรั่วของสายส่งและข้อต่อต่าง ๆ อยู่เสมอด้วยการใช้น้ำผสมสบู่หรือน้ำผสมน้ำยาล้างจาน หรือน้ำผสมน้ำยาซักผ้า ลูบตามส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการตรวจสอบ เมื่อปรากฏ ณ ที่จุดใดฟองปุดขึ้นมาแสดงว่ามีการรั่วตรวจจุดนั้นแล้วจงรีบแก้ไขโดยด่วน
    19.ตรวจสภาพอุปกรณ์แก๊สอยู่เสมอ ได้แก่ หัวเตา วาล์วปรับเปลวไฟวาล์วเปิด-ปิดถัง สายส่งแก๊สและตัวถังว่ายังคงอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยหรือไม่







    ดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่ http://www.ขายเตา

    0 comments:

    Post a Comment