ผู้ที่ทดสอบและตรวจสอบจะต้องมีคุณสมบัติ/คุณวุฒิตามที่กรมธุรกิจพลังงานกำหนด และต้องได้รับใบรับรองจากกรมธุรกิจพลังงาน
- หลังการทดสอบทางบริษัทจะต้องออกใบรับรองการตรวจสอบ และขออนุญาตจากกรมธุรกิจพลังงานเพื่อใช้งานได้ ระยะเวลาการทดสอบ 6 ปีแรก หลังติดตั้ง (กรณีถังใหม่) หลังจากนั้นทุก 5 ปี
การทดสอบถังเก็บและจ่ายก๊าซ
1. การตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้สร้างถัง
- การตรวจสอบความแข็งของวัสดุ (Hardness Testing)
- การตรวจสอบความหนาของวัสดุ (Thickness Testing)
2. การตรวจสอบผิวแนวเชื่อมภายนอก/ใน ถังด้วยผง
แม่เหล็ก (Magnetic Particle Testing)
3. การตรวจสอบหาสิ่งที่ผิดปกติภายในผิวแนวเชื่อม
- การหลอมละลายที่ไม่ดี (Poor fusion)
- การซึมลึกที่ไม่เพียงพอ (Shallow penetration)
โดยวิธีใช้รังสีคลื่นแม่เหล็ก (Radiographic Testing)
4. ทดสอบด้วยแรงดันน้ำ (Hydrostatic Testing) ด้วยความ
ดันประมาณ 4 เท่าของความดันใช้งาน (375 psi.)
การทดสอบระบบท่อก๊าซ
1. ทดสอบการรั่วซึมโดยใช้ก๊าซไนโตรเจน หรือน้ำ ( Pressure Test )
2. ระบบท่อก่อนเครื่องปรับความดันทดสอบที่ความดัน 375 PSI
3. ระบบท่อหลังเครื่องปรับความดันทดสอบที่ความดัน 60 PSI
4. ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที - 1ชม.
5. ใช้น้ำสบู่ตรวจสอบรอยรั่วบริเวณ ข้อต่ออุปกรณ์ต่างๆ, หน้าแปลน
และแนวเชื่อม
0 comments:
Post a Comment