HISTORY of NATURAL GAS
สมัยอียิปต์โบราณ ก๊าซธรรมชาติอยู่ในฐานะสัญญาณจากเทพเจ้า โดยปรากฏในรูปแบบของ “ไฟลึกลับ” ที่พวยพุ่งขึ้นมาจากรอยแยกของพื้นโลก 6000-2000 ปีก่อนคริสตกาล : มีการบันทึกว่าค้นพบก๊าซธรรมชาติในประเทศอิหร่าน 900 ปีก่อนคริสตกาล : มีบันทึกว่ามีการค้นพบก๊าซธรรมชาติในจีน
ปี ค.ศ. 1659 (พ.ศ.2202) : มีบันทึกว่ามีการค้นพบในประเทศอังกฤษ
ปี ค.ศ. 1815 (พ.ศ.2358) : มีบันทึกว่ามีการค้นพบก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกา
ปี ค.ศ. 1860 (พ.ศ. 2403) : รถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงถูกพัฒนาขึ้นโดย Jean Etienne Lenoir ชาวฝรั่งเศส แต่ช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยม
ปี ค.ศ.1911 (พ.ศ.2454) : Dr. Walter Snelling นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ผลิตตัวอย่าง ก๊าซโพรเพน และ ก๊าซบิวเทน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ LPG ได้เป็นคนแรก
ปี ค.ศ. 1913 (พ.ศ.2456) : Dr. Walter Snelling ได้รับสิทธิบัตรกระบวนการจัดเก็บและขนส่งก๊าซโพรเพนและบิวเทน
ปี ค.ศ. 1939 (พ.ศ.2482) : สภานิติบัญญัติแห่งรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อบังคับ แห่งแก๊สปิโตรเลียมเหลว หรือ LPG นับเป็นกฎหมายรองรับการผลิตและการใช้แก๊สแอลพีจีในระดับรัฐเป็นครั้งแรก
ปี ค.ศ.1940 (พ.ศ. 2483) : การขยายตัวของการใช้ก๊าซธรรมชาติในสหรัฐเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ประชาชนใน พื้นที่การเกษตรเปลี่ยนจากการใช้ไม้และน้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงภายในบ้านมาเป็นการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
ปี ค.ศ. 1973 (พ.ศ. 2516) : เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันทั่วโลก จึงหันมาใช้ก๊าซธรรมชาติมาเป็นเชื้อเพลิงทดแทน
ปี ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) : ประเทศไทยเริ่มมีการผลิตก๊าซจากแหล่งก๊าซอ่าวไทย โดยการปิโตรเลี่ยมแห่ง ประเทศไทย โดยนำแก๊ส LPG มาใช้ในการหุงต้ม และมีการสนับสนุนให้ดัดแปลงรถยนต์สาธารณะ เช่น รถแท๊กซี่ สามล้อเครื่อง หรือ ตุ๊กตุ๊ก ให้มาใช้แก๊ส LPG แทนน้ำมัน
ปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) : รัสเซีย อิหร่าน และประเทศผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ 15 ประเทศ ร่วมก่อตั้งกลุ่ม ประเทศผู้ส่งออกก๊าซ (Gas Exporting Countries Forum) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2008 เชื่อกันว่าจะมีบทบาท เฉกเช่นกลุ่มโอเปคของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน และน่าจะเป็นประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของก๊าซธรรมชาติ
- “ก๊าซธรรมชาติ” ไม่ใช่ปรากฏการณ์ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ได้ถูกบันทึกเอาไว้ตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณแล้ว บันทึกแรกเท่าที่ค้นพบเกิดขึ้นในสมัยอียิปต์โบราณ โดยยุคนั้นยังเป็นสิ่งที่อยู่ในฐานะ “สัญญาณจากเทพเจ้า” เนื่องจากมันปรากฏในรูปแบบของ “ไฟลึกลับ” ที่ปรากฏขึ้นจากรอยแยกของพื้นโลก
- ก๊าซธรรมชาติยังถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ของประเทศอิหร่านว่ามีการค้นพบในช่วง 6000 – 2000 ปีก่อนคริสตกาล ถูกค้นพบในประเทศจีนช่วง 900 ปีก่อนคริสตกาล ถูกค้นพบในอังกฤษเมื่อปี 1656 (พ.ศ. 2202) และถูกค้นพบในอเมริกาเมื่อปี 1815 (พ.ศ. 2358)
- ยุคแรก ๆ ที่มีการนำก๊าซ LPG มาใช้ยังไม่มีการควบคุม จนกระทั่ง Dr. Walter Snelling นักวิทยาศาสตร์ และนักลงทุนชาวอเมริกัน ได้ผลิตตัวอย่าง โพรเพน และ บิวเทน ขึ้นในปี 1911 (พ.ศ.2454) สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า การค้นพบก็คือโพรเพน และ บิวเทน ในก๊าซธรรมชาติไม่มีความเสถียรและสามารถระเหยขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศ ได้ตลอดเวลา Dr. Snelling จึงได้พัฒนากระบวนการจัดเก็บและขนส่งโพรเพนและบิวเทน และในปี 1913 (พ.ศ.2456) เขาก็ได้สิทธิบัตรด้านก๊าซ LPG
- ในปี พ.ศ.2482 สภานิติบัญญัติแห่งรัฐของอเมริกา ได้ตราพระราชบัญญัติ ว่าด้วยข้อบังคับแห่ง แก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liquefied petroleum gas หรือ LPG) ซึ่งรู้จักกันในชื่อ บิวเทน หรือ โพรเพน ด้วนสาเหตุที่ว่า สภาการรถไฟซึ่งเป็นตัวแทนเสียงข้างมากของรัฐ ซึ่งรับผิดชอบต่อการผลิตและการใช้แก๊สในระดับรัฐต้องการได้ อำนาจการตัดสินใจด้วยตัวบทกฎหมาย
- การขยายตัวของการใช้ก๊าซธรรมชาติในสหรัฐเกิดขึ้นในทศวรรษที่ 40 (1940s) ประชาชนในพื้นที่การเกษตร ของเท็กซัส เปลี่ยนจากการใช้ไม้และน้ำมันก๊าดเป็นเชื้อเพลิงภายในบ้านมาเป็นการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็น เชื้อเพลิงในการทำอาหาร และสร้างความอบอุ่นภายในบ้าน โดยทำการส่งมาทางท่อส่งก๊าซ สามารถสร้างประโยชน์ ให้กับการดำเนินชีวิตของชุมชนเมืองได้เป็นอย่างมาก ส่วนในพื้นที่ห่างไกล LPG จะถูกบรรจุใส่ถังก๊าซ พื่อความสะดวก ในการขนส่ง
- อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1946 (พ.ศ.2489) ปัญหาความปลอดภัยจากแรงดันที่สูงเป็นสาเหตุให้อัตราการขอ เอาประกันภัยพุ่งสูงแบบติดจรวด อุตสาหกรรม LPG จึงหาวิธีการทางกฎหมายเพื่อปกป้องสาธารณะชน และเพื่อช่วยลด อัตราการประกันภัย ในปี ค.ศ. 1951 (พ.ศ.2494) สภานิติบัญญัติของรัฐเท็กซัส ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของการมี ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และผ่านกฎหมายว่าด้วยการตั้งสำนักงานก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas Division) ให้แยกออกจากสภาการรถไฟ
- ปี ค.ศ. 1958-1959 (พ.ศ.2501-2502) บริษัท แทร็กเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดได้เผยแพร่การใช้ก๊าซ LPG กับเครื่องจักรต่าง ๆ ที่ใช้ในฟาร์ม ทำให้อัตราการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวพุ่งสูงขึ้น
- ในปี ค.ศ. 1983 (พ.ศ.2526) อำนาจในการดูแลจัดการก๊าซธรรมชาติอัด (Compressed Natural Gas หรือ CNG) ถูกรวมเข้ามาในสำนักงานนี้ การตราพระราชบัญญัติ “อากาศบริสุทธิ์” หรือ The "clean air" legislation ถูกผ่านออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ โดยสภานิติบัญญัติชุดที่ 71 ของรัฐเท็กซัส ได้ขอให้ยานพาหนะที่มีสมรรถนะ เพียงพอ หันมาใช้ก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) หรือ LPG อยู่ในขอบเขตทางกฎหมายของสำนักงานก๊าซธรรมชาติเหลว
- ใบอนุญาตที่มอบให้กับบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) และคณะกรรมการกำหนดข้อ กฎหมาย CNG ที่ครอบคลุมถึงการติดตั้ง การจัดเก็บ และการจัดหาเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง CNG ทั้งในยานพาหานะ ส่วนบุคคลและในยานพาหนะสาธารณะ
- ในออสเตรเลียมีการค้นพบก๊าซ LPG ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1920s ซึ่งนั่นเป็นช่วงที่ออสเตรเลียนำเข้า ก๊าซธรรมชาติบรรจุถังมาจากอเมริกา ในตอนนั้นก็ยังไม่มีคนสนใจจนกระทั่งมันมีค่าแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ขึ้นมา จากนั้นก๊าซธรรมชาติจึงถูกควบคุมในฐานะที่สามารถใช้หุงต้มอาหารและสร้างความอบอุ่น
- ก่อนปี 1970 (พ.ศ.2513) ก๊าซ LPG จำนวนไม่มากนักหาได้ในออสเตรเลีย ช่วงทศวรรษที่ 1970s บริษัท Esso และ BHP ได้เปิด Bass Strait Oil และ Gas Fields ทำให้โพรเพนและบิวเทนของออสเตรเลียมีใช้อย่างเหลือเฟือ ในขณะที่มันถูกมองว่าเป็น “ขยะ” ที่เกิดจากการกลั่นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ความต้องการในออสเตรเลียจึงต่ำ ส่วนเกินถูกส่งมาจำหน่ายในเอเชีย ช่วงนี้เองวิกฤติปิโตรเลียมทำให้เกิดการพัฒนาพลังงานทางเลือกราคาประหยัด เพื่อใช้ในรถยนต์ขึ้นมา
- จุดกำเนิดรถใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (NGV)
- ยานยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (NATURAL GAS VEHICLE : NGV)ได้มีการพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1860 (พ.ศ. 2403) โดยชาวฝรั่งเศสชื่อ Jean Etienne Lenoir แต่ช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยม จนกระทั่งถึง สงครามโลกครั้งที่ 2 และเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันใน ปี ค.ศ. 1973 ซึ่งราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นมาก ส่งผลให้มีการคิดค้น นำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนนในรถยนต์มากขึ้น รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ล้วนส่งเสริมและสนับสนุน ให้ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โดยประเทศที่มีการใช้อยู่แล้วก็มีแนวโน้มการขยายตัวของการใช้มากขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เกาหลี เป็นต้น ส่วนประเทศที่ยังไม่เริ่มใช้ รัฐบาลก็ให้การส่งเสริม รวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย
- อิตาลีเป็นประเทศแรก ๆ ที่นำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ มากว่า 80 ปีแล้ว ซึ่งปัจจุบันใน อิตาลีมีรถยนต์ใช้ก๊าซกว่า 300,000 คัน และต่อมาความนิยมใช้ก๊าซ NGV ก็มีแพร่หลายมากขึ้นทั้งในทวีปอเมริกาใต้ เช่น ประเทศอาร์เจนติน่า จำนวนรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ มีทั้งหมด 1,400,000 คัน ซึ่งถือเป็นอันดับที่ 1 ในโลก ในทวีปอเมริกาเหนือ สหรัฐอเมริกามียานยนต์ให้ก๊าซกว่า 130,000 คัน ในทวีปเอเชีย มีในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย และปากีสถาน รวมถึงทวีปอาฟริกา เช่น อียิปต์ ในปัจจุบันทั่วโลกมีรถยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติกว่า 4.7 ล้านคัน
- ประเทศไทยกับการใช้ก๊าซธรรมชาติในยานยนต์
- ปี พ.ศ. 2514 มีการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย หลังจากมีพระราชบัญญัติปิโตรเลียม โดยวิธีการให้ประมูลสัมปทาน ซึ่งรัฐบาลพิจารณาให้สัมปทาน 9 ราย จากผู้ยื่นความจำนงกว่า 20 ราย ในพื้นที่ 19 แปลงในอ่าวไทย 2 แปลงในทะเลอันดามันน้ำตื้น และ 2 แปลงบนบกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ. 2514 นั่นเองที่ บริษัท ยูเนี่ยนออยล์ ได้เจาะหลุมสำรวจขนาด ลึกเป็นครั้งแรก บนที่ราบสูงโคราช และบริษัท โคโนโค ได้เจาะหลุมสำรวจหลุมแรกในอ่าวไทย แต่ทั้งสองหลุม ไม่ปรากฏร่องรอยของสารไฮโดรคาร์บอน
- ปี พ.ศ.2516 บริษัท ยูเนียนออยล์ ประเทศไทย จำกัด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ยูโนแคล ประเทศไทย จำกัด (Unocal)) เป็นบริษัทแรกที่ค้นพบแหล่งก๊าซ ธรรมชาติในอ่าวไทย (แปลงสัมปทานที่ 12 แอ่ง ปัตตานี) ณ แหล่งเอราวัณ ต่อมาได้สำรวจพบแหล่ง บรรพต และได้สำรวจพบในแหล่งอื่น ๆ ที่จะสามารถ พัฒนาในเชิงพาณิชย์ได้เพิ่มขึ้นอีก
- ปัจจุบันพบแหล่งก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสต ใน พื้นที่สัมปทานของบริษัทฯ ทั้ง 4 แปลงในอ่าวไทย จำนวนถึง 15 แหล่ง ได้แก่ เอราวัณ บรรพต ปลาทอง สตูล กะพง ฟูนาน จักรวาล ปะการัง ตราด โกมินทร์ สุราษฎร์ ปลาแดง ดารา ปลาหมึก และยะลา
- นอกจากการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยแล้ว ยังมีการสำรวจในอ่าวอันดามันด้วยแต่ไม่พบแหล่งที่มี ศักยภาพในเชิงพาณิชย์
- นอกจากนี้ยังมีการสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติบนบก โดยบริษัท เอกซอนแห่งประเทศไทย จำกัด พบแก๊ส ธรรมชาติที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น แต่เป็น แก๊สแห้ง คือไม่มีไฮโดรคาร์บอนหนักอยู่ด้วย และบริษัท ไทยเชลล์ เอกซ์พลอเรชัน จำกัด สำรวจพบน้ำมันปิโตรเลียม ที่อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานชื่อว่า แหล่งสิริกิติ์ และพบก๊าซธรรมชาติร่วมด้วย เริ่มผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 โดยนำน้ำมันดิบที่ได้มากลั่นร่วมกับน้ำมันดิบที่นำเข้า พ.ศ.2518 เกิดวิกฤติการณ์น้ำมันทั่วโลก ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลในสมัยนั้น พิจารณาพัฒนาแหล่งก๊าซ ธรรมชาติในอ่าวไทย โดยผู้รับสัมปทาน คือ บริษัท ยูเนียนออยล์ ในช่วงปี พ.ศ. 2515-2517 เพื่อนำก๊าซธรรมชาติ ที่เดิมคิดว่ามีคุณค่าน้อยขึ้นมาใช้ประโยชน์ โดยจัดตั้ง องค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย (อกธ.) รับผิดชอบการ ลงทุนวางท่อแก๊สใต้ทะเลเพื่อรับซื้อแก๊ส ณ ปากหลุมที่แหล่งแก๊สของผู้รับสัมปทานกลางอ่าวไทยและร่วมลงทุนสร้าง ท่อแก๊สขึ้นสู่ฝั่ง ท่อบนบกและสถานีควบคุมความดันและจุดควบแน่น โดยอธก.ทำหน้าที่ดำเนินกระบวนการเจรจา ตกลงราคาแก๊ส และปริมาณการซื้อขายแก๊ส
- ในขณะที่โครงการพัฒนาก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยเริ่มเป็นรูปธรรมขึ้น ประเทศไทยประสบปัญหามากขึ้นในการจัดหา และจัดจำหน่ายน้ำมันให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน องค์กรของรัฐที่มีอยู่ ได้แก่ องค์การเชื้อเพลิง (อชพ.) สังกัดกระทรวงกะลาโหม ก็ยังไม่สามารถตอบสนองนโยบายของรัฐได้ดีพอ รัฐบาลสมัยนั้น (พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี) จึงตั้ง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (The Petroleum Authority of thailand) หรือ ปตท. ขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ.2522 เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยรวมองค์การเชื้อเพลิง (อชพ.) จากกระทรวงกลาโหม และองค์การแก๊สธรรมชาติแห่งประเทศไทย (อกธ.) จากกระทรวงอุตสาหกรรมไว้ด้วยกัน
- ปตท. จึงเป็นหน่วยงานหลักของรัฐในการพัฒนาแหล่งและการดำเนินกิจการแก๊สธรรมชาติหลังจากนั้นเป็นต้นมา โดย ได้ก่อตั้งบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่เฉพาะการสำรวจและผลิตขึ้นในปี พ.ศ.2539
- นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม (ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) ในปี พ.ศ.2514 จนถึงเริ่ม ผลิตในปี พ.ศ.2524 มีการผลิตก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสตจากแหล่งต่าง ๆ ของประเทศหลายแหล่ง โดยมีผู้ถือ สัมปทานการสำรวจ จำนวน 33 สัมปทาน 43 แปลงสำรวจ (พื้นที่บนบก 14 สัมปทาน 17 แปลงสำรวจ อ่าวไทย 19 สัมปทาน 26 แปลงสำรวจ และไม่มีผู้ถือสัมปทานในทะเลอันดามัน) จำนวนหลุมปิโตรเลียมที่เจาะแล้วมากกว่า 3,000 หลุม
- ก่อตั้งกลุ่มประเทศผู้ส่งออกก๊าซ
- สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) รายงานว่า รัสเซีย อิหร่าน และประเทศผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายอื่น ๆ ร่วมมือกัน ก่อตั้งกลุ่มประเทศผู้ส่งออกก๊าซ (Gas Exporting Countries Forum) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2008 องค์กรดังกล่าว มีประเทศสมาชิกร่วมก่อตั้ง 15 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ในกรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกก๊าซ ธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) รายใหญ่สุดของโลก
- "นี่เป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญของตลาดพลังงาน" ประธานาธิบดีดิมิทรี เมดเวเดฟ ของรัสเซียกล่าวหลังสิ้นสุด การประชุม "การสร้างเสถียรภาพของโลก ความมั่นคงด้านพลังงาน และสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของประเทศ ผู้ส่งออกและผู้บริโภค ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออก"
- รัสเซียซึ่งเป็นแกนนำในการสร้างความร่วมมือครั้งนี้ กล่าวว่า ผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติไม่สามารถเอาอย่างกลุ่มโอเปคได้ทุกประการ และจำเป็นต้องมีการรวมกลุ่มของตนเอง "องค์กรใหม่ได้เกิดขึ้นแล้วในวันนี้" เซอร์เก ชมัตโค รัฐมนตรีพลังงานของรัสเซีย กล่าว "เราไม่จำกัดบทบาทหน้าที่ ของเราว่าจะต้องทำมากน้อยแค่ไหนตราบใดที่มันมีความเกี่ยวข้องกับผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ" กลุ่มประเทศผู้ส่งออก ก๊าซจะทำการคัดเลือกเลขาธิการใหญ่ขององค์กรในการประชุมปีหน้าและนั่นจะเป็นก้าวย่างที่สำคัญขององค์กร ก๊าซธรรมชาติระดับโลก
0 comments:
Post a Comment